ที่มาของกิเลสตัณหา

ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งที่จะดึงมนุษย์สู่ความต่ำต้อยและใกล้เคียงกับเดรัจฉาน   หากมนุษย์ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เพียงอย่างเดียว เช่น       -ปากท้อง

                                                                     -อวัยวะเพศ

                                                               -ลิ้น  เป็นต้น

  มนุษย์สามารถยืนหยัดอยู่กับอัคลาคที่ดี(นิสัยที่ดี)ได้    โดยการปฎิบัติแต่สิ่งที่ดีนั้นติดต่อกันจนซึมซับเข้าสู่หัวใจของเขา   ซึ่งจะแผ่ผลไปสู่ส่วนต่างๆของเรือนร่างด้วย  สืบเนืองมาจากว่าเรือนร่างและอวัยวะส่วนต่างๆของมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการปฎิบัติดีและไม่ดีของมนุษย์     หากปฎิบัติแต่สิ่งที่ดีเขาก็จะได้อัคลาคที่ดีงามเก็บสะสม

ดังนั้น.....มนุษย์จะต้องตรวจตาดูและระมัระวังการบงการของหัวใจ และปฎิบัติตามอวัยวะส่วนต่างๆให้อยู่ในขอบเขตเสมอ   โดยเฉพาะในเรื่องราวของการ  บริโภค,  เรื่องเพศ , และเรื่องราวของการเสวนา(ลิ้น)   เพราะส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะถูกดึงให้ต้อยต่ำ  โดยเหตุผลที่มาจาก สาม สิ่งนี้   

ท่านศาสดา(ซล.)ได้กล่าวไว้ว่า ใครก็ตามที่ระมัดระวังตนเองจากท้อง , อวัยวะเพศ , และลิ้นของตนให้ห่างไกลจากด้านลบของมัน    เขาจะปลอดภัยจากทุกๆความโชคร้าย

 

กิเลสที่เกิดจากท้อง  คือ  กิเลสแห่งอาการอยากกิน

เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า  ท้องคือ ที่มาแห่งกิเลสต่างๆ เป็นที่มาของความน่ารังเกียดต่างๆ และแม้กระทั้ง  กิเลสที่มาจากเรื่องเพศก็ยังมีที่มาจากท้อง     เพราะหากมนุษย์บริโภคมากก็จะมีอารมณ์ทางเพศมาก..........สิ่งเหล่านี้ผลักดันให้มนุษย์มีความอยากได้มาซึ่ง  ทรัพย์สิน , ตำแหน่ง   และแล้วมนุษย์ก็พร้อมที่จะกระทำทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้มาสิ่งเหล่านี้....ทำให้คุณลักษณะชั่วร้ายอื่นๆตามมาด้วย  เช่น  ความอิจฉาริษยา , ความแก่งแย่งชิงดี , ความเอารัดเอาเปรียบ , ความเห็นแก่ตัว และหากเราไม่ได้ควบคุมบังเหียนแห่งกิเลสแล้ว  เขาจะถูกพาไปสู่ความหายนะในที่สุด

คุณลักษณะอันหน้ารังเกียดที่ถูกกล่าวไปแล้ว  ล้วนแล้วแต่มีผลลัพธ์ของการตกเป็นทาสอาการอยากของปากท้องทั้งสิ้น   ทว่าเมื่อใดก็ตามที่บ่าวของพระองค์ได้ปิดกั้นหนทางที่จะนำมาซึ่งกิเลสตัณหาอันมากมาบ   โดยการฝึกฝนให้ปากท้องได้รับการบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ   หรือฝึกฝนกายให้ได้พบกับความโหยหิวเสียบ้าง  มนุษย์จะพร้อมปฎิบัติตามบัญชาต่างๆของพระองค์ได้ดีกว่า  เพราะความอิ่มเอิบจนเกินไปเป็นที่มาของความละโลภละโมบจนในที่สุดมนุษย์ต้องตกเป็นทาสของดุนยา    แทนที่จะหันมาเลือกตะเตรียมเสบียงอาเครัตเสียบ้าง

 

ท่านศาสดา(ซล.) กล่าวว่า ลูกหลานที่แท้จริงของอาดัมจะไม่เติมท้องของตนเองให้เต็มไปด้วยอาหารอย่างทารุณ  แต่พวกเขาจักเพียงพอต่อไม่กี่คำ  เพื่อสร้างกำลังวังชาให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวต่อไปเท่านั้น  ดั่งนั้นพวกเขาจำเป็นต้องกินอาหาร   เมื่อต้องกินก็จงแบ่งท้องออกเป็น สาม ส่วนเท่าๆกัน  - หนึ่งสำหรับอาหาร

                             -อีกส่วนหนึ่งสำหรับน้ำ    

                                           -ส่วนสุดท้ายสำหรับหายใจ 

อีกรายงาน กล่าว่า จงอย่าทำให้ท้องใส้ของตนเต็มเปี่ยมไปด้วยอาหารและเครื่องดื่มให้มากจนเกินพิกัด  เพราะมนุษย์เสมือนกับเรือกสวนไร่นา ที่ถ้าหากให้ปุ๋ยหรือน้ำมากจนเกินไปก็จักทำให้ผลผลิตเสียหาย  ตายหรือใบเหลืองแห้งได้

อีกรายงาน กล่าว่าผู้ที่มีความหิวโหยและความคิดความอ่านของเขามีมากก่าผู้อื่น  คือ  ผู้ที่มีตำแหน่งสูงส่งกว่า ณ. ทัศนะของพระองค์  และผู้ที่หมกมุ่นอยู่กับการกินการนอนมากกว่า คือผู้ที่อยู่ในความกริ้วของพระองค์

ท่านอิมามญะญะฟัร อัศศอดิก(อ.) กล่าวว่า ลิ้นที่สงบและท้องที่หิ้วกริ่วคือ ที่รักของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นโทษต่อผู้ศรัทธาได้มากเท่ากับการกินจุ   ซึ่งการกินจุเป็นที่มาของคุณลักษณะอันเป็นโทษต่อมนุษย์ คือ   1.มนุษย์มีจิตใจที่มืดบอดยากที่จะเข้าสู่สัจธรรม

                2.เขาจะเป็นบุคคลที่มากด้วยกิเลสตัณหา

 

ในขณะที่ผู้กินน้อยจะนึกถึงอาหารจิตวิญญานบ้าง  ซึ่ง ณ. จุดนี้เหล่าผู้รู้เท่าไม่ถึงการต่างพากันมีความเห็นว่า  ดังนั้นมนุษย์ถึงควรหลีกเหลี่ยงการกินให้มากที่สุด และต้องลุกขึ้นต่อสู้กับความต้องการทางธรรมชาติอย่างจริงจังเสียที   โดยจำกัดเวลาในการบริโภคอาหารและหลีเหลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรถชาติอร่อย

ซึ่งกลุ่มปัญญาชนที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะรู้ว่าสิ่งที่   สถาบันอัคลาคต้องนั้นไม่ใช่การหลีกเหลี่ยงจากอาหารโดยปราศจากความสมดุลย์  ซึ่งจะเป็นโทษต่อร่างกายภายหลัง  แต่สิ่งที่มนุษย์ควรพึงปฎิบัติไว่เสมอในทุกๆหัวข้อของการดำรงชีวิต  มนุษย์ควรที่จะยึดเอาความพอดีเสียจะถูกต้องกว่า  ดังนั้นจะต้องระมัดระวังการบริโภคของตนให้อย่ในสภาวะสมบรูณ์แบบ  ได้รับประโยชน์จากอาหารทุกหมู่  ในขณะเดียวกันก็ไม่มากเกินความพอดีหรือรู้สึกอึดอัดหลังรับประทานอาหาร  แทนที่จะรู้สึกมีกำลังที่จะดำเนินชีวืตต่อไป   และไม่น้อยจนเกินไปจนทำให้เป็นที่มาของโรคขาดสารอาหารต่างๆ  ดังนั้นจงบริโภคให้เพียงความหิวถูกประทังไป  เมื่อมีความรู้สึกไม่หิว มนุษย์จักได้มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับเหล่าฑูตสวรรค์  ที่พวกเขาไม่หิวและจะไม่กระหาย  และบรรดามาลาอีกะห์ยังห่างไกลการกอนจุอีกด้วย

 

ลุกมาน ได้กล่าวกับลูกชายของตนว่า  :โอ้ลูกรัก  เมื่อเจ้าเพิ่มเติมท้องไส้ของเจ้าให้เต็มไปด้วยอาหาร  เท่ากับว่าเจ้าได้ปิดตาของเจ้าลง  และเจ้าได้ตัดลิ้นแห่งวิทยญานของเจ้าเอง  และราวกับเจ้าได้ตรึงเรือนร่างและอวัยวะของตนไว้ให้หยุดนิ่งจากทุกๆการงาน

 

ประโยชน์จากการบริโภคอย่างพอดี

-จิตใจแจ่มใส ร่าเริง

-มีความผาสุขที่ไดปฎิบัติตามคำบัญชาของพระองค์

-จะรำลึกถึงความหิวโหยในวันกิยามัต

-ได้ทำลายล้างพลังแห่งกิเลสตัณหา

-ได้นอนอย่างพอดีและตื่ยง่าย

-ชีวิตยืนยาว

-มีความกระปี้กระเปร่าต่อการทำอามั้ล อิบาดะห์ ทำสิ่งดีๆ

-ห่างไกลจากโรคภัยทั้งปวง

-เป็นที่รักของพระองค์

ท่านศาสดา(ซล.) กล่าวว่า การกินจุ คือที่มาของโรคภัยและ  การกินอย่างพอดี คือ ยารักษาทุกโรค

           


อ่านต่อ...