อัคลาก
ความหมายจากรากศัพท์
คำว่า “อัคลาก” ในรากศักท์ของภาษาอาหรับเป็พหูพจน์จากคำว่า “คุลก” ซึ่งเป็นศัพท์เดิมที่มีความหมายถึง บุคลิกภาพที่มีอยู่ในตัวตนของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นบุคลิกที่คงอยู่และยากที่จะเปลี่ยนแลงหรือจะเรียกว่าเป็น อุปนิสัย ก็ได้ บุคคลที่มีอุปนิสัยใดๆติดตัวเขาอยู่เขาจะไม่ลังเลเมื่อถึงเวลาที่ต้องกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของตนอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จะแบ่งปันทรัพย์สินที่มีอยู่ของตนให้กับผู้ยากไร้อย่างไม่รีรอ และจะเป็นการให้ที่เต็มอกเต็มใจอีกด้วย
จะอย่างไรก็ตามความหมายตามรากศัพท์ของคำว่า อัคลาก นั้นไม่ได้บ่งชี้ถึงนิสัยอันดีงามของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะคำว่า คุลก จะรวมไปถึงอุปนิสัยอันไม่เหมาะสมของมนุษย์เช่นกัน
ดั่งนั้นบุคคลที่ใจกวางจะมีการให้ทานอย่างสบายใจปานใด บุคคลผู้ที่มีนิสัยอันตระหนี่ก็จะให้อย่างขมขื่นปานนั้น
ความหมายโดยสำนวน
ในทุกแขนงวิชา นักวิชาการของแต่ละวิชานั้นๆจะให้ความหมายในลักษณะสำนวนเพื่อเพิ่มความกระจ่างให้กับความหมายทางวิชาการมากขึ้นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาอัคลากก็เช่นกัน พวกท่านได้ตีความหมายในลักษณะสำนวนภาษาของคำว่า อัคลาก ไว้ดังต่อไปนี้
1 .คุณลักษณะอันคงที่ในตัวตนของมนุษย์ :ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับความหมายจากรากศัพท์ของคำว่า อัคลาก ที่ได้อธิบายไปแล้ว
2.คำว่า อัคลาก รวมถึงคุณลักษณะอันคงที่และไม่คงที่ที่มีอยู่ในตังตนของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาจากความดีงามหรือจะมาจากความโสมมของมนุษย์ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น หากบุคคลผู้มีอุปนิสิยตระหนี่ถี่เหนี่ยวเกินทำตรงข้ามกับธรรมชาติของตน โดยการบริจาคทรัพย์สินหรือให้ทานแก่ผู้ทุกข์ยากขึ้นมา ความตระหนี่ถี่เหนี่ยวคือ คุลก นิสัยสันดานของเขา แต่การให้ของเขาจะถูกเรียกว่าเป็น อัคลาก ที่ดี หรือมีจรรยาบรรณนั้นเอง
3.บางครั้งคำว่า อัคลาก ก็บ่งชี้ถึงคุณลักษณะอันดีงามพึงมีในตัวตนของมนุษย์เพียงอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า จรรยาบรรณ นั้นเอง
.....................................................................................................................................
บทเรียนอัคลาก
อัคลาก ได้แก่ การกล่าวถึงบุคลิกอันมาจากความดีงามและความไม่ดีที่สามารถพบเห็นได้จากการกระทำซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์ คุณลักษณะต่างๆเหล่านั้นถือเป็นเรื่องราวของบทเรียนอัคลาก แตในทัศนะของเหล่าอุลามาอฺ ผู้รู้อิสลาม เรื่องราวของอัคลากจะมีความหมายที่แคบลง โดยเฉพาะเจาะจงถึงการแสวงหาเพียงบุคลิกลักษณะอันอยู่ในครรลองคลองธรรมมาสู่ตัวตนอย่างเดียว
เหล่าผู้ทรงคุณวฒิในวิชาอัคลากต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการผสมผสานระหว่างตัวตนของมนุษย์กับคุณลักษณะอันดีงามถือเป็นเบื้องหลังของความสำเร็จของการค้นพบความเป็น มนุษย์ผู้สมบรูณ์
ปรัชญาของอัคลาก
ในแขนงของบทเรียนอัคลากจะเป็นการเข้าถึงเรื่องราวต่างๆของอัคลาก ซึ่งจะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของวิชาอัคลากและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบทเรียนตลอดจนถึงจุดประสงค์และผลประโยชน์ของวิชาอัคลาก
ความสำคัญของอัคลาก
การขัดเกลาตนเพื่อให้ได้มาซึ่งจริยธรรมที่ดีงามในตัวตนนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม สงคราม, การแก่งแย่งชิงดี , การรบราฆ่าฟัน และการแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆจักหมดไปได้เมื่อมนุษย์หันมาให้ความสำคัญของอัคลาก และเชิญชวนสู่อัคลากอันถูกต้องเที่ยงธรรม ในอัลกรุอ่านการขัดเกลาตนถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการแต่งตั้งศาสดาเคียงคู่กับการนำทางมนุษย์ชาติสู่หนทางเที่ยงตรง ซึ่งในซูเราะ ญุมอัต อายะที่ 2 ได้กล่าวว่า:
“พระองค์ทรงแต่งตั้งให้กลุ่มชนที่ไม่รู้หนังสือ ซึ่งศาสนฑูตผู้หนึ่งจากเชื้อชาติของพวกเขาเอง เขาแถลงโองการต่างๆของพระองค์แก่พวกนั้น เขาทำการปลดปลื้งพวกมัน และเขาทำการสอนพวกนั้น ซึ่งคัมภีร์และวิทยญาและแท้จริงพวกเขาเหล่านั้น เมื่อยุคก่อนๆได้ตกอยู่ในความหลงผิดอันแจ้งชัด”
ท่านศาสดาได้ประกาศให้การขัดเกลาตนสู่จริยธรรมอันดีงามเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาจุดมุ่งหมายในการเป็นศาสดาของท่านให้ไปสู่ความสมบรูณ์แบบซึ่งท่านได้กล่าวว่า “ ฉันถูกแต่งตั้งเพื่อความสมบรูณ์แบบของจริยธรรม” แต่ทว่าก่อนที่จุดมุ่งหมายอันประเสริฐนี้จะไปถึงเป้าหมายได้นั้น อัคลากอันงดงามจะต้องถูกจำแนกแยกออกจากอัคลากอันอธรรมเสียก่อน เพื่อบทเรียนอัคลากจักได้อรรถาธิบายถึงรายระเอียดของเรื่องราวหลักธรรมจริยาได้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
.......................................................................................................................................................
การได้มาซึ่งอัคลาก
ตามทัศนะของกลุ่มอุลมาอฺของอัคลาก คำว่า อัคลากโดยภาษาสำนวนหมายถึง บุคลิก ลักษณะพาะที่ ซึ่งเป็นลักษณะของอุปนิสัย สันดาน อันมีอยู่ในตัวตนของมนุษย์และเมื่อถึงบทที่ต้องปฏิบัติ อัคลาก จะผลักดันให้มนุษย์กระทำได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไตร่ตรองพินิจพิจารณามากนักและเมื่อใดก็ตามที่อุปนิสัยสันดานผลักดันให้มนุษย์แสดงออกในคุณลักษณะที่ดีงามและสอดคล้องกับนโยบายแห่งสติปัญญา เราจะเรียกการกระทำนั้นว่า คุลก ที่ดีและในทางกลับกันถ้าการแสดงออกของมนุษย์ออกมาในภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสม คุลก การกระทำนั้นๆก็จะถูกเรียกว่า ที่เลวทราม
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อัคลาก จะถูกจรรยาบรรณอันพึงมีของมนุษย์ที่จะต้องคงที่อยู่ในตัวตน ดังนั้นหากผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียวอยากให้ทานขึ้นมา การให้นั้นจะถือให้เป็น อัคลากไม่ดี นอกเสียจากว่า จะไม่เป็นการปฎิบัติตรงข้ามกับอุปนิสัยเดิมของตน และการให้ทานจะต้องคงที่อยู่ในนิสัยสันดานของเขาตลอดไป
การมีอัคลากจะช่วยให้การการปฏิบัติในกิจกรรมดีงามของมนุษย์ง่ายขึ้น เพราะอัคลากจะแสดงตัวออกมาโดยที่มนุษย์ไม่ต้องใช้ในการตัดสินใจ โดยการหาเหตุผลเมื่อต้องทำความดี เช่น ผุ้ที่มีอัคลากของการเอื้อเผื้อเผื่อแผ่อยู่แล้ว จะให้โดยการให้รู้ถึงคุณค่าของการให้และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้กลับมาจากการกระทำของตน ซึ่งผิดกับผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียวที่จะให้ทานซักครั้ง นั้นแสดงว่าเขาได้คิดคำนวนถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น ในการได้มาซึ่งอัคลากของมนุษย์จำเป็นจะต้องสร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นระหว่างความรอบรู้ อารมณ์และกิเลส เพื่อเขาจักได้ใช้ทุกภาคอย่างถูกต้อง
มนุษย์จะสามารถใช้ความรอบรู้ของตนได้อย่างไร?
การสามารถแยกแยะความถูกต้องออกจากความผิดได้นั้นมีผลจากวิทยปัญญาที่ประทานลงมาโดยพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้าง หากมนุษย์สามารถใช้ความแตกต่างระหวางเรื่องจริงกับเรื่องเท็จที่ตนเป็นผู้พูดได้ , สามารถแยกแยะความคิดความอ่านอันเป็นสัจธรรมออกจากอธรรมได้ , สามารถบ่งชี้ถึงความสวยงามและความน่าเกียดน่าชั่งได้ นั่นบ่งบอกถึง การได้มาซึ่งพลังแห่งวิทยญาณ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการได้มาซึ่ง อัคลากอันประเสริฐ ส่วนในด้านแห่งอารมณ์และกิเลสนั้นจะต้องถูกควบคุมโดยสติปัญญา
ดังกรุอานอฺได้กล่าวไว้ใน ซูเราะ บากอเราะห์ อายะห์ที่ 269ว่า.......
“และผู้ใดที่ได้รับประทานวิทยปัญญา(จากพระองค์)แน้แท้เขาคือผู้ที่ได้รับคุณงามความดีอันล้นเหลือ”
มนุษย์จักต้องใช้วิทยปัญญาแห่งตนในการควบคุมอารมณ์และกิเลสของตนให้อยู่ในขอบเขตจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในภาคของ ฮัยวานีย์ เท่านั้น ดังนั้นการสร้างสมดุลระหว่างสามสิ่ง อารมณ์ , กิเลส , ความรอบรู้นั้นถึงต้องมีสติปัญญาเข้าช่วย เพราะสติปัญญาของมนุษย์เท่านั้นที่จะสามารถแยกแยะความดีงามออกจากความชัวร้ายได้และจะสร้างความถูกต้องเที่ยงธรรมให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ จะอย่างไรก็ตามก็มิได้หมายความว่าเมื่อสติปัญญแยกแยะแล้วการทำงานของมนุษย์ก็เป็นอันเสร็จสิ้น เพราะมนุษย์ยังต้องลงสู่สนามแห่งการต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งชัยชนะแห่งการกระทำอันพึ่งปฏิบัติอีกด้วย เพราะทั้งอารมณ์และกิเลส จะไม่ปล่อยให้มนุษย์กระทำในทุกสิ่งที่สติปัญญาเป็นผู้ตัดสินได้อย่างง่ายๆ เฉกเช่น ม้าป่าที่นายพรานใช้ในการล่าสัตว์ ซึ่งม้าบางตัวอาจถูกฝึกฝนมาอย่างดีและมีความเชี่ยวชาญในการไล่ล่า มันรู้ดีว่าจะต้องใช้ความเร็วของมันอย่างไรจึงจะช่วยให้ผู้ที่ขี่มันไปถึงจุดหมายได้ แต่ทว่าม้าบางตัวก็ยังไม่ได้รับการฝึกฝนใดๆและเพียงการฟาดลงบนบั้นท้ายของมันเพื่อหวังจะออกคำสั่งหรือดึงบังเหียนบังคับทิศทางนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้นายพรานได้เหยื่อมาให้สมดังหวังเสมอไป
เพราะฉะนั้นผู้ใดสามรถใช้กุญแจสำคัญข้างต้นเขาก็สามารถสร้างอัคลากให้กับตนและนำพาตนไปสู่ความสมดุลของคุณลักษณะต่างๆอย่างสมบรูณ์แบบได้ แต่หากใครใช้กุญแจนี้ในบางส่วนเขาก็จะไดรับการสร้างอัคลากเพียงในส่วนนั้นๆเช่นกัน
ทำความรู้จกกับคุณลักษณะต่างๆของมนุษย์
ความกล้าหาญ เกิดจากพลังแห่งอารมณ์โกรธซึ่งถูกควบคุมโดยความสมดุลย์อย่างสมบรูณ์แบบและใช้ในทางที่ถูกต้อง(มิใช้ความกล้าในทางที่ผิด เช่น กล้าทะเลาะกับเพื่อน กล้าว่าร้ายผู้อื่น กล้ายกพวกตีกัน อื่นๆ)
ความมียางอาย เกิดจากพลังแห่งกิเลสซึ่งถูกควบคุมโดยความสมดุลย์ของสติปัญญาอย่างสมบรูณ์(อายแบบมียางอายเกิดจากความกลัวที่จะกระทำบาป)
โทสะ เกิดจากพลังทางอารมณ์โกรธซึ่งหลุดออกมาการควบคุมสมดุลย์โดยสิ้นเชิง(คือ ความโมโห โกรธ )
ความกลัว เกิดจากจุดอ่อนทางอารมณ์ซึ่งจะดึงมนุษย์สู่ความอ่อนแอ(ความกลัวอยู่นอกเหนือการควบคุมของสติปัญญา เช่น การกลัวผี ทั้งที่รู้ว่าผีคือคนที่ตาย ไม่สามารถลุกขึ้นมาได้และเชื่อว่าไม่มีจริง แต่ก็เกิดความกลัวขึ้นมา)
ความชั่วร้าย เกิดจากพลังแห่งกิเลสตัณหา ซึ่งปกคุมเหนือมนุษย์และดึงมนุษย์สู่ความต่ำต้อย(ความชั่วร้ายจะมีอำนาจเหนือตัวเรา คนชั่วเลวกว่าความชั่ว)
ความท้อทอย เกิดจากจุดอ่อนทางอารมณ์ซึ่งจะดึงมนุษย์ไปสู่ความอ่อนแอ(ความไม่ประสมความสำเร็จหลายๆครั้งจึงเกิดความอ่อนแอ ถอดใจกับสิ่งที่ทำอยู่)
ความมีเล่ห์เหลี่ยม เกิดจากวิทยปัญญาระดับสูงซึ่งถูกใช้ไปในทางที่ไม่ดีและไม่ถูกต้อง หากถูกควบคุมความสมดุลย์และใช้ในทางที่ถูกต้องจะถูกเรียนว่า วิทยปัญญา (เกิดจากความฉลาดที่ใช้ในทางไม่ถูกต้อง)
คุณลักษณะหลักอันเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ครวมีคือ การมีวิทยปัญญา , การมีความกล้าหาญ , การมียางอาย , การมีความยุติธรรมไม่อธรรมต่อผู้ใด
สลามค่ะ
ตอบลบได้สาระมากๆๆเลยค่ะ
เนื้อหาดีมากเลยค่ะ
ตอบลบ