เรียนมารยาทจากคนไร้มารยาท
เรียนมารยาทจากคนไร้มารยาท
คร่าวก่อนเราได้พูดถึง การขัดเกลาตนเองและวิธีการขัดเกลาตนเองไปแล้ว ณ.บทเรียนนี้จะกล่าวถึงวิธีการได้มาซึ่งกิริยามารยาทอันดีงาม
เพื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดบ่าวคนใดเป็นพิเศษ สิ่งแรกที่พระองค์ทรงประทานให้เขาคือ “ตาทิพย์”
ซึ่งสิ่งแรกที่พระองค์ทรงอนุมัติให้บ่าวผู้นั้นมองเห็นได้ด้วยตาทิพย์ คือ “จุดบกพร่องและความน่าเกียดน่าชังต่างๆนานาที่มีอยู่ในตัวของเขา “
ใครก็ตามที่ได้ตาทิพย์นี้มาเขาจะสามารถมองเห็นทุกๆข้อผิดพลาดของตนเองในทุกระเบียนนิ้ว จะไม่มีความผิดใดเล็ดลอดสายตาของเขาไปได้และเมื่อเขามีโอกาสได้รับรู้ ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการแก้ไขยิ่ง...แต่ทว่าน่าเสียดายที่มนุษย์ส่วนใหญ่ กลับมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง และแทนที่จะรุดหน้าเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของตนเอง มนุษย์ส่วนใหญ่กลับจะมามัวเสวนาอยู่กับความผิดพลาดของผู้อื่น จนเห็นได้ว่าจะเป็นการ ติ เพื่อทำลายเสียมากกว่า “ติเพื่อก่อ”
หรือหากมนุษย์ต้องการที่จะรับรู้ถึงความบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ เขาก็ควรมีสหายที่ดีไว้ซักคนหนึ่งซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีอัคลากอิสลาม(นิสัยที่ดี) เพื่อที่จะได้คอยสังเกตุพฤติกรรมทุกระเบียบนิ้วของเขา และเมื่อเจอความผิดพลาดจะได้ตักเตือนเขา หรือในอีกทางหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์สามารถรู้ถึงจุดบกพร่องของตนเองได้ คือ จากการรับฟังคำบอกเล่าของศัตรู เพราะแน่นอนศัตรูย่อมจ้องทำลายล้างและรอคอยความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากตัวเรา เพื่อที่จักได้ตอกย่ำซ้ำเติอโดยพลัน
ทว่า..............คนส่วนใหญ่จะมองข้ามในจุดนี้ไป เพราะจะตีความว่า คำกล่าวที่มาจากศัตรูเป็นสิ่งที่ไม่ควรเชื่อถือ ทั้งๆที่ในบางครั้งการชี้จุดบกพร่องของมนุษย์ที่มาจากศัรตูนั้นจะชัดแจ้งกว่า การบอกกล่าวตักเตือนของมิตรสหายเสียอีก
ทว่าบุคคลที่มีตาทิพย์เท่านั้นจะยอมรับว่าการชี้ชัดของศัรตูและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อจักได้ขจัดของบกพร่องนั้นๆของตนให้หมดไป มนุษย์สามารถปฎิบัติได้เกี่ยวกับประเด็นนี้ คือ การพบปะสังสรรค์ คบค้าสมาคม กับคนมากหน้าหลายตา หลายหมู่เหล่า เพื่อเรียนรู้ถึงคุณความดี และ ความไม่ดีควบคู่ไปด้วย โดยใช้การแยกแยะของสติปัญญาและความรู้สึกเป็นหลักในการตัดสินใจ หากพบพานสิ่งใดที่น่าปราบปลื้มยินดีมองดูแล้วน่านำมาเป็นแบบอย่าง สร้างความชุ่มชืนให้กับหัวใจและจิตวิญญาน ก็จงรู้ไว้ว่านั้นคือความดีงามที่ควรปฎิบัติ.............แต่.....หากสิ่งที่พบเห็นกลับมองดูน่ารังเกียจ สร้างความหดหู่ให้กับชีวิตจิตใจและตรงกันข้ามกับสติปัญญา ก็จงร็ไว้อีกว่า สิ่งเหล่านั้นควรแก่การหลีกเหลี่ยงที่จะกระทำเหมือดังที่เห็นมาแล้ว................
หากสังคมมนุษย์กระทำได้เพียงเท่านี้ ก็คงจะไม่มีความจำเป็นใดๆกับการสั่งสอนของครูบาอาจารย์กับการเล่าเรียนกิริยามารยาทใดอีกเลย
เมื่อท่านนบี อีซา(อ.) ถูกถามว่า “ท่านเรียนมารยาทจากใคร ผู้ใดหรือ?” ท่านตอบว่า “ฉันมิได้เรียนจากใครนอกเสียจาก การสังเกตุความโง่เขล่าเบาปัญญาของคนไร้ปัญญา และฉันได้หลีกหนีให้ห่างไกลจากมัน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น